Written by Heather Smith
เขียน โดย เฮเธอร์ สมิท
Translated by Warit Anuchiracheewa
แปล โดย วริทธิ์ อนุชิราชีวะ
1. History
In 1908 Dr. James McKean requested the land known as Koh Klang, from the ruling prince of Chiang Mai, as it had formerly been where his elephants were kept. Dr. McKean asked to develop the land into a residential settlement for leprosy sufferers who were rejected from home and society. This became Thailand’s first settlement for leprosy patients. Within 30 years a model colony had been established, and included five different villages, hostels, clinic and hospital wards, workshops, a church and two schools.
Over the years some patients wanted to marry and return to community and McKean bought land and established clinics and leprosy communities in other areas. A total of 22 different leprosy villages were established in the north, each with a small clinic and a church, and usually a small school.
1. ประวัติความเป็นมา
ในปี ค.ศ.1908 นพ.เจมส์ แมคเคน ได้ทูลขอพื้นที่บ้านเกาะกลาง จากเจ้าอินทรวโรรส เจ้าเมืองเชียงใหม่ เพื่อบุกเบิกพัฒนาจากพื้นที่เลี้ยงช้างแต่เดิม เป็นศูนย์พักพิงสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ถูกขับไล่ออกจากชุมชน ถือเป็นจุดกำเนิดของศูนย์พักพิงสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อนแห่งแรกในประเทศไทย ในระยะเวลา 30 ปีต่อมา ศูนย์แห่งนี้ได้พัฒนาจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ครัวเรือน 5 หมู่บ้าน โรงเรียน 2 โรง บ้านพักรับรอง คลินิก โรงพยาบาล ศูนย์ฝึกอาชีพ และ คริสตจักร
ต่อมา ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งปรารถนาที่จะสร้างครอบครัวและย้ายกลับสู่ชีวิตปกติอีกครั้ง สถาบันแมคเคนจึงทำการซื้อที่ดินในพื้นที่รอบนอกเพื่อจัดตั้งคลินิก และสร้างชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อน รวมเป็นจำนวน 22 หมู่บ้าน กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยแต่ละหมู่บ้านได้มีการจัดตั้งคริสตจักร คลินิก และโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วย
2. Integration and Rehabilitation
With the advent of effective drugs to treat and cure leprosy after 1970 McKean team focused on efforts to rehabilitate leprosy patients back into home and society. This involved public education, social work, vocational training and community based support. Integrated clinics were established in new areas so patients could get treatment nearer home, along with other general patients. McKean goal was also for leprosy village residents to have sustainable livelihoods and be better integrated into their local communities. McKean workers provided agricultural development training for the community, and integrated all children into the same schools.
2. การบูรณาการและการฟื้นฟูสภาพ
หลังจากปี ค.ศ. 1970 ได้มีการคิดค้นยาที่สามารถรักษาโรคเรื้อนได้สถาบันแมคเคนจึงมุ่งเน้นไปในการพัฒนาด้านฟื้นฟูสภาพความพิการเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถกลับสู่ชุมชนสังคมได้ ครอบคลุมทั้ง การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน งานสังคมสงเคราะห์ การฝึกอาชีพ และการช่วยเหลือในชุมชน ก่อให้เกิดการรักษาแบบบูรณาการ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้นเนื่องจากอยู่ใกล้ชุมชนและสามารถใช้บริการร่วมกับผู้ป่วยทั่วไปได้ นอกจากนั้นเป้าหมายของสถาบันแมคเคนยังคงมุ่งเน้นในการช่วยเหลือสมาชิกในหมู่บ้านผู้ป่วยโรคเรื้อนให้สามารถยังชีพได้อย่างยั่งยืน และเรียนรู้ในการเข้ามีส่วนร่วมกับชุมชนสังคมท้องถิ่นโดยให้การฝึกอบรมด้านเกษตรกรรมและสนับสนุนให้ลูกหลานของผู้ป่วยเข้าเรียนในโรงเรียนร่วมกับเด็กทั่วไป
3. Extended General Rehabilitation
From the mid-1980s Mckean adopted the broader plan to integrate patients with leprosy and disabilities in its hospital-based and community-based rehabilitation services, building a new hospital and expanding its physical therapy department and team. Facilities providing aids to mobility were expanded and included the prosthetics and orthotics department and a new wheelchair workshop, producing a range of push-pull tricycles and self-propelled wheelchairs, which were not commercially available at that time.
All patients, leprosy and disabled, were encouraged to relate together, learn self-care and receive training in organic farming and home-based activities to better enable them to have sustainable livelihoods back home.
McKean also initiated community-based rehabilitation projects in different districts of Chiang Mai, working with local families and communities to encourage awareness of the needs of disabled folk and the local provision of support, access and opportunity for the disabled members.
3. การขยายงานด้านฟื้นฟูสภาพ
นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 สถาบันแมคเคนได้ขยายแผนงานให้เข้าถึงผู้ป่วยโรคเรื้อนและผู้พิการทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน โดยสร้างอาคารโรงพยาบาลขึ้นใหม่ ขยายห้องกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด จัดตั้งแผนกกายอุปกรณ์และแผนกจรยาน เพื่อผลิตและจัดหา รถวีลแชร์และอุปกรณ์ที่จะช่วยเหลือสนับสนุนผู้พิการ เช่น รถสามล้อแบบมือโยก และวีลแชร์แบบขับเคลื่อนได้เอง ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด
ผู้ป่วยโรคเรื้อนและผู้พิการทุกคน ได้รับการส่งเสริมให้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล เรียนรู้ที่จะดูแลและหาเลี้ยงชีพอย่างยั่งยืน ผ่านการฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์และการฝึกกิจกรรมบำบัดสำหรับทำที่บ้าน
สถาบันแมคเคนได้ริเริ่ม “โครงการการฟื้นฟูสภาพในชุมชน (Community-based rehabilitation)” ในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชนจะช่วยกระตุ้นให้การตระหนักถึงความต้องการของผู้พิการ และสร้างวิสัยทัศน์ใหมให้แก่ผู้นำชุมชนในการสนับสนุนและให้โอกาสที่เท่าเทียมแก่ราษฎรที่เป็นผู้พิการ
4. Aged-Care
At the time of emphasizing rehabilitation into community McKean recognized that some patients were too old and disabled and dislocated from any family to be able to return to community. These folk were established in the village at the north end of McKean. Here they continue to receive support to have their own community living in small cottages, hostels and nursing home wards, .
However other needy people were also approaching McKean in need of aged-care, including many expatriates lacking family and support. Since 2000 McKean has been developing multi-tiered aged-care services. In 2009 Dok Kaew Gardens was opened as a modern international retirement home, including Lotus House for assisted living, and the secure Jasmine House for mobile elderly with dementia. McKean Medical Center has rooms for nursing home care for the elderly. Renovated small cottages in Ruam Jai Village now offer lower cost housing options for needy elderly, with daily oversight from nursing staff in the nearby nursing home.
But today McKean continues to offer specialised services in treatment of leprosy complications, and rehabilitation. McKean has out-patients clinics in 4 venues where leprosy patients and receive diagnosis and treatment. And McKean has changed its name to “McKean Senior Center” on October 1st, 2017.
4. การดูแลผู้สูงอายุ
ในช่วงเวลาที่สถาบันแมคเคนกำลังมุ่งเน้นการฟื้นฟูสภาพในชุมชนนั้น สถาบันแมคเคนได้ตระหนักว่า ผู้ป่วยส่วนหนึ่ง มีความพิการและมีอายุมากเกินกว่าจะกลับไปดำรงชีวิตด้วยตนเองในชุมชนได้ จึงได้จัดตั้ง “หมู่บ้านร่วมใจ” ขึ้น ณ พื้นที่เหนือสุดของสถาบันแมคเคน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ยังได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมในชุมชนภายในสถาบันแมคเคน โดยพักอาศัยในบ้านเรือนแพ บ้านพักรวม และหอพักผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่ต้องการการดูแล เช่น กลุ่มชาวต่างชาติที่มาอยู่ประเทศไทยโดยห่างไกลญาติมิตรที่จะคอยให้ความช่วยเหลือ ดังนั้น ในปี ค.ศ. 2000 สถาบันแมคเคนจึงได้ริเริ่มงานบริการผู้สูงอายุหลากหลายระดับ (Multi-tiers Aged-care services) ขึ้น และในปี ค.ศ.2009 ได้จัดสร้าง “บ้านดอกแก้ว” ซึ่งเป็นบ้านพักผู้สูงอายุมาตรฐานสากล เพื่อรองรับงานบริการ ทั้งผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเล็กน้อย จนไปถึงผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ตลอดจนปรับเปลี่ยนห้องพักในโรงพยาบาลแมคเคนให้เป็นห้องสำหรับดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลระดับสูง(high care) และปรับปรุงบ้านพักจำนวนหนึ่งในหมู่บ้านร่วมใจ ให้เป็นบ้านพักต้นทุนต่ำสำหรับผู้สูงอายุที่สามารถพึ่งพาตนเองในชีวิตประจำวัน โดยมีทีมเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลคอยดูแลอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
ณ ปัจจุบัน สถาบันแมคเคนยังคงให้บริการในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเรื้อน และการฟื้นฟูสภาพผู้พิการ ผ่านหน่วยบริการคลินิกผู้ป่วยนอก 4 หน่วยบริการ ( ในเมืองเชียงใหม่, เมืองลำพูน, อำเภอไชยปราการ และที่สถาบันแมคเคน) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนยังสามารถเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาได้ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันผู้สูงอายุแมคเคน (McKean Senior Center) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2017